136 จำนวนผู้เข้าชม |
บทความแสดงจุดปมทริกเกอร์พอยท์และปัญหาอาการต่างๆ ของกล้ามเนื้อ Levator Scapular พร้อมทั้งแสดงจุดทาถูหัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ เพื่อรักษาอาการ
Levator Scapular เป็นกล้ามเนื้อที่เกิด Trigger Point ได้บ่อยมากมัดหนึ่งในกลุ่มกล้ามเนื้อ เพราะต้องทำหน้าที่หนักๆ ไม่ว่าจะเป็นการหมุนศีรษะ การเงยศีรษะ หรือการเกร็งศีรษะเวลาทำงานออฟฟิศ การตึงหรือเป็นปมที่มัดนี้มากๆ จะทำให้ปวดคอคอแข็ง และกล้ามเนื้อมัดนี้มีความสัมพันธ์กับการนอนตกหมอนอย่างลึกซึ้ง
โดยมักมีจุดปมทริกเกอร์พอยท์ที่สร้างปัญหาให้กับกล้ามเนื้อ Levator Scapular และเป็นจุดที่ใช้ในการรักษากดจุดทาถูน้ำมัน ประกอบไปด้วย 2 จุด ดังภาพต่อไปนี้
จุดที่ 1 เกิดกับกล้ามเนื้อ Levator Scapular บริเวณมุมฐานของก้านคอเรียกว่า Primary หรือ Upper Levator มักมีอาการปวดมุมล่างของก้านคอ คอแข็ง โดยจะปวดมากเวลาหันศีรษะเงยศีรษะ บางรายถึงขั้นหันและเงยไม่ได้เลย นอกจากนี้ก็ยังมีอาการที่ขอบด้านในของกระดูก Scapula และด้านหลังของหัวไหล่ร่วมด้วย ดังนั้นหากมีอาการปวดดังนี้ ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ
จุดที่ 2 เกิดกับกล้ามเนื้อ Levator Scapular บริเวณ Lower Levator อยู่เหนือ Superior Angle ของ Scapular เล็กน้อย มักมีอาการปวดมุมล่างของก้านคอ คอแข็ง โดยจะปวดมากเวลาหันศีรษะเงยศีรษะ บางรายถึงขั้นหันและเงยไม่ได้เลย นอกจากนี้ก็ยังมีอาการที่ขอบด้านในของกระดูก Scapula และด้านหลังของหัวไหล่ร่วมด้วย ดังนั้นหากมีอาการปวดดังนี้ ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ
สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อ Levator Scapular มีปัญหา และวิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ท่าทางที่ไม่ดี ที่พบบ่อยคือการใช้งานคอและศีรษะที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบยื่นคอไปด้านหน้า, การก้มหน้าอ่านหนังสือและดูมือถือเป็นระยะเวลานาน, การหันศีรษะไปด้านหนึ่งเป็นระยะเวลานาน เช่น การพิมพ์งานที่เอกสารจะอยู่ด้านข้างทำให้เราต้องหันไปมองเอกสาร, การใช้ไหล่และศีรษะหนีบโทรศัพท์
ความเครียดทางอารมณ์และความวิตกกังวล มักจะกระตุ้นให้เราเกร็งกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อบ่าโดยอัตโนมัติ รวมถึงกล้ามเนื้อ Levator Scapular เพื่อเตรียมตัวสู้หรือหนี อันเป็นผลมาจากสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้นหากเราเครียดและกังวลทั้งวัน ก็จะทำให้ Levator Scapular ตึงตัวได้
ท่านอนและการนอนตกหมอน เมื่อคุณนอนในท่าที่ทำให้คอบิดเอียงหรืองอไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อ Levator Scapular ถูกบีบ ถูกทำให้หดตัว การหดตัวเป็นเวลานานนี้มักทำให้กล้ามเนื้อหดสั้นและตึงได้
การเล่นกีฬาบางชนิดที่หักโหมและมากเกินไป
การว่ายน้ำ การหมุนแขนเหนือศีรษะซ้ำๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่าฟรีสไตล์และท่าผีเสื้อ รวมทั้งการหมุนหน้าขึ้นมาหายใจ อาจทำให้กล้ามเนื้อ Levator Scapular ตึงได้
การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก (เวทเทรนนิ่ง) การออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการยกน้ำหนัก โดยเฉพาะการออกกำลังกายบริเวณไหล่ หลังบน และอก มักจะมีการยักไหล่ช่วย ซึ่งจะทำให้ Levator Scapular ตึงได้
การปั่นจักรยาน ท่าเอนไปข้างหน้าในการปั่นจักรยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนจักรยานเสือหมอบ สามารถสร้างความเครียดให้กับ Levator Scapular ได้
ดังนั้น หากมีอาการปวดหรือตึงเป็นปมกล้ามเนื้อ Levator Scapular (ปวดมุมล่างของก้านคอ คอแข็ง โดยจะปวดมากเวลาหันศีรษะเงยศีรษะ บางรายถึงขั้นหันและเงยไม่ได้เลย นอกจากนี้ก็ยังมีอาการที่ขอบด้านในของกระดูก Scapula และด้านหลังของหัวไหล่ร่วมด้วย) ควรปฏิบัติดังนี้
1.จัดท่าทางให้ดี ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมลักษณะเสี่ยงทั้งหมด ที่ทำให้เราคอยื่น ก้มหน้า และก้มๆ เงยๆ รวมทั้งการนอนตกหมอนคอเอียง พร้อมทั้งต้องปล่อยวาง ลดเครียด
2เมื่อออกกำลังกายที่มีการใช้งาน Levator Scapular ก็ควรหาวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการนวด หรือการแช่น้ำร้อนที่กล้ามเนื้อมัดนี้
3.หมั่นทาน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ พร้อมทั้งใช้หัวลูกกลิ้งกดคลึงตามจุดรูปภาพด้านบนเป็นประจำทุกวันเช้าเย็น
และหากไม่แน่ใจว่าน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ ควรทาตรงไหน วิธีทาทำอย่างไรเพื่อแก้อาการที่คุณเป็น ?
สามารถสอบถามออนไลน์โดยตรงได้ที่ Line@ : @phrairelax หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ เรามีแพทย์แผนไทยพร้อมให้คำปรึกษา เพียงแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของอาการ เช่น บริเวณที่คุณบาดเจ็บตึง ลักษณะอาการ สาเหตุหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น แพทย์แผนไทยของเราพร้อมจะแนะนำ และส่งวีดีโอวิธีทำ เพื่อจะได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณ
จะให้อาการหายดี ต้องใช้น้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์เท่านั้น เพราะมีสารสมุนไพรช่วยคลายกล้ามเนื้อ สูตรดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น หัวไพล-ฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ความร้อนสูงเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เถาว์เอ็นอ่อน-คลายเส้นเอ็นคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ-ลดปวดลดอักเสบ น้ำมันปาล์ม-เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง เกล็ดสะระแหน่-ช่วยให้ร่างกายสดชื่นลดอาการเกร็งตัว และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันยูคา, พิมเสน, การบูร, โดยทั้งหมดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณจะกลับมามีชีวิตชีวา แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อีกครั้ง