304 จำนวนผู้เข้าชม |
บทความแสดงจุดปมทริกเกอร์พอยท์และปัญหาอาการต่างๆ ของกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid พร้อมทั้งแสดงจุดทาถูหัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ เพื่อรักษาอาการ
Sternocleidomastoid มักเรียกสั้น ๆ ว่า SCM เป็นกล้ามเนื้อหลักในบริเวณคอ ตั้งชื่อตามสิ่งที่กระดูกยึดเกาะ ได้แก่ กระดูกอก (sterno-) กระดูกไหปลาร้า (cleido-) และแถวๆ กกหูของกระดูกขมับ (mastoid-) กล้ามเนื้อนี้มองเห็นได้ง่ายและสัมผัสได้ที่ด้านข้างของคอเมื่อหันศีรษะหรือเอียงศีรษะ
โดยมักมีจุดปมทริกเกอร์พอยท์ที่สร้างปัญหาให้กับกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid และเป็นจุดที่ใช้ในการรักษากดจุดทาถูน้ำมัน ประกอบไปด้วย 7 จุด แบ่งเป็น 2 มัดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่ 1 - 4 จุด และกล้ามเนื้อที่ 2 - 3 จุด ดังภาพต่อไปนี้
จุดที่ 1-4 เมื่อมีปมจะปวดไปที่บริเวณกลางศีรษะบนหัว กลางด้านหลังศีรษะและท้ายทอย บริเวณเหนือกระบอกตา บริเวณใกล้ๆ โหนกแก้ม คอด้านบน คางเล็กน้อย และบริเวณกลางหน้าอกหรือกระดูกหน้าอก กลุ่มเหล่านี้คืออาการปวดทางกล้ามเนื้อ นอกจากนี้หากมีปมตามจุดที่ 1-4 จะมีอาการแฝงภายใน ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ตาแดง, ตาพร่า, น้ำมูกไหล, หายใจไม่ออก, เจ็บคอตอนกลืนอาหาร, และมีอาการซีดเหงื่อบริเวณที่ปวด ดังนั้นหากมีอาการด้านบนทั้งหมด ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ
จุดที่ 5-7 เมื่อมีปมจะปวดร้าวไปที่บริเวณหน้าผาก และมีใบหู หลังหูร่วมด้วย นอกจากนี้หากมีปมตามจุดที่ 5-7 จะมีอาการแฝงภายใน ดังต่อไปนี้ ได้แก่ วิงเวียนหัวเมื่อหันหน้า, บ้านหมุน, หน้ามืดเป็นลม และสามารถอาเจียนได้ด้วย หากมีอาการดังนี้ ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ
สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid มีปัญหา และวิธีแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ท่าทางศีรษะยื่นไปข้างหน้าล้ำจากหัวไหล่มากเกินกว่าปกติ รวมถึงการก้มหน้ามากเกินกว่า 45 องศาด้วย ท่าทางเหล่านี้ทำให้เกิดความตึงเครียดที่กล้ามเนื้อคอ รวมถึง Sternocleidomastoid ด้วย ท่านี้มักเกิดขึ้นจากท่าทำงานกับคอมพิวเตอร์ เล่นสมาร์ทโฟน ขับขี่รถท่าทางผิดๆ และอ่านหนังสือ เป็นต้น
การหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความตึงแน่นของ Sternocleidomastoid ได้ เช่นการเอียงคอหนีบโทรศัพท์เพื่อคุย ในขณะที่มือไม่ว่าง หรือการตั้งจอคอมพิวเตอร์เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ทำให้คอต้องหันไปมอง เป็นต้น
ตำแหน่งการนอน การใช้หมอนสูงที่ยกศีรษะสูงเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid ตึงได้ในชั่วข้ามคืนเช่นกัน และการนอนตะแคงข้างโดยหันศีรษะไปด้านเดียวตลอดทั้งคืน ก็อาจทำให้เกิดความตึงเครียด การเอียงไปด้านเดียวที่ไม่สมส่วนใน Sternocleidomastoid ได้เช่นเดียวกัน
การถือกระเป๋าหนัก โดยเฉพาะเป้สะพายไหล่เพียงข้างเดียว มักเพิ่มความตึงเครียดในกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid ด้านนั้น เพราะ Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อที่มีส่วนช่วยทำงานเพื่อรักษาความตรงของร่างกาย ศีรษะ และคอ ดังนั้นการสะพายเป้ด้วยไหล่เพียงข้างเดียว จึงกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างหนักจนตึง
กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวคอซ้ำๆ เช่น การทาสีเพดาน-เงยหน้าเอียงหน้าหันหน้าซ้ำๆ การเล่นเครื่องดนตรีบางชนิด-เช่น ไวโอลีน ที่มีการเอียงศีรษะหนีบเครื่องดนตรี หรือกีฬาบางอย่าง-เช่น ว่ายน้ำ การเอียงศีรษะขึ้นมาหายใจซ้ำๆ หรือปั่นจักรยานที่ก้มหน้าในระยะเวลานาน
ความเครียดทางอารมณ์หรือเครียดจากงาน ความเครียดมักทำให้กล้ามเนื้อหดตัวเกิดขึ้นทั่วร่างกาย รวมถึง Sternocleidomastoid ด้วย เป็นธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเราจะเครียดและเกร็งตัว เพื่อเตรียมป้องกันหรือสู้ เมื่อเครียดบ่อยเครียดมากก็เกร็งมาก จึงทำให้กล้ามเนื้อตึง
การบาดเจ็บและเหตุการณ์อุบัติเหตุ เช่น การบาดเจ็บจากการกระแทกหรืออุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ก็จะทำให้ Sternocleidomastoid ตกใจ เกิดหดตัวตึงอย่างเฉียบพลัน ไม่คลาย
ดังนั้น หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid (ปวดตามจุดสีแดงตามกลุ่มภาพด้านบน)
1.ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมลักษณะด้านบนทั้งหมด
2.หมั่นทาน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ พร้อมทั้งใช้หัวลูกกลิ้งกดคลึงตามจุดรูปภาพด้านบนเป็นประจำทุกวันเช้าเย็น
และหากไม่แน่ใจว่าน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ ควรทาตรงไหน วิธีทาทำอย่างไรเพื่อแก้อาการที่คุณเป็น?
สามารถสอบถามออนไลน์โดยตรงได้ที่ Line@ : @phrairelax หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ เรามีแพทย์แผนไทยพร้อมให้คำปรึกษา เพียงแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของอาการ เช่น บริเวณที่คุณบาดเจ็บตึง ลักษณะอาการ สาเหตุหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น แพทย์แผนไทยของเราพร้อมจะแนะนำ และส่งวีดีโอวิธีทำ เพื่อจะได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณ
จะให้อาการหายดี ต้องใช้น้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์เท่านั้น เพราะมีสารสมุนไพรช่วยคลายกล้ามเนื้อ สูตรดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น หัวไพล-ฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ความร้อนสูงเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เถาเอ็นอ่อน-คลายเส้นเอ็นคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ-ลดปวดลดอักเสบ น้ำมันปาล์ม-เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง เกล็ดสะระแหน่-ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและลดอาการเกร็งตัว และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันยูคาลิปตัส, พิมเสน, การบูร โดยทั้งหมดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณกลับมามีชีวิตชีวา แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อีกครั้ง