Suboccipital ปวดที่ฐานกะโหลก ลึกเข้าไปในกะโหลก คาดว่า Suboccipital น่าจะมีปัญหา

119 จำนวนผู้เข้าชม  | 


บทความแสดงจุดปมทริกเกอร์พอยท์และปัญหาอาการต่างๆ ของกล้ามเนื้อ Suboccipital พร้อมทั้งแสดงจุดทาถูหัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ เพื่อรักษาอาการ


Suboccipital เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ฐานกะโหลก ทำหน้าที่ช่วยกะโหลกในการก้มเงย และหันซ้ายขวา พร้อมทั้งเกร็งตัวเองเวลาเราก้มหน้าเล่นมือถือ ทั้งหมดนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความตึง และจุดทริกเกอร์พอยท์กับกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้

โดยมักมีจุดปมทริกเกอร์พอยท์ที่สร้างปัญหาให้กับกล้ามเนื้อ Suboccipital และเป็นจุดที่ใช้ในการรักษากดจุดทาถูน้ำมัน ประกอบไปด้วย 2 จุด ดังภาพต่อไปนี้

จุดที่ 1-2 หากมีอาการปวดลึกเข้าไปในกะโหลกเป็นแนวจากท้ายทอยถึงกระบอกตา และอาการเหล่านี้มักจะรุนแรงในช่วงเวลากลางคืนตอนนอน โดยเฉพาะการนอนหงาย ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ โดยจุดจะอยู่ใต้ฐานกะโหลกทั้ง 2 ฝั่งซ้ายขวา




สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อ Suboccipital มีปัญหา และวิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ท่าทางที่ไม่ดี ที่พบบ่อยคือการใช้งานคอและศีรษะที่ไม่เหมาะสม อันได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบยื่นคอไปด้านหน้า หรือการก้มหน้าอ่านหนังสือและดูมือถือเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งการก้มๆเงยๆ ซ้ำๆ มากๆ ในกีฬาหรือกิจกรรมบางชนิด

ความเครียดทางอารมณ์และความวิตกกังวล มักจะกระตุ้นให้เราเกร็งกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อบ่าโดยอัตโนมัติ รวมถึงกล้ามเนื้อ Suboccipital เพื่อเตรียมตัวสู้หรือหนี อันเป็นผลมาจากสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้นหากเราเครียดและกังวลทั้งวัน ก็จะทำให้ Suboccipital ตึงตัวได้

ใช้งานตามากเกินไป อาการตาล้าจากแสงที่ไม่ดี การอ่านหนังสือเป็นเวลานาน รวมทั้งการใช้ตามองหน้าจอเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาและหน้าผากตึงซึ่งกล้ามเนื้อ 2 มัดนี้มีการเชื่อมโยงกับ Suboccipital ผ่าน Fascia และ Nerve ทำให้เกิดการดึงกัน ส่งผลให้ Suboccipital ตึงตามไปด้วย


ดังนั้น หากมีอาการปวดหรือตึงเป็นปมกล้ามเนื้อ Suboccipital (อาการปวดลึกเข้าไปในกะโหลกเป็นแนวจากท้ายทอยถึงกระบอกตา) ควรปฏิบัติดังนี้
1.จัดท่าทางให้ดี ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมลักษณะเสี่ยงทั้งหมด ที่ทำให้เราคอยื่น ก้มหน้า และก้มๆ เงยๆ พร้อมทั้งพักสายตาบ้างเวลาทำงาน รวมถึงลดความตึงเครียดให้กับตัวเองด้วย
2.หมั่นทาน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ พร้อมทั้งใช้หัวลูกกลิ้งกดคลึงตามจุดรูปภาพด้านบนเป็นประจำทุกวันเช้าเย็น

และหากไม่แน่ใจว่าน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ ควรทาตรงไหน วิธีทาทำอย่างไรเพื่อแก้อาการที่คุณเป็น ?
สามารถสอบถามออนไลน์โดยตรงได้ที่ Line@ : @phrairelax หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ เรามีแพทย์แผนไทยพร้อมให้คำปรึกษา เพียงแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของอาการ เช่น บริเวณที่คุณบาดเจ็บตึง ลักษณะอาการ สาเหตุหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น แพทย์แผนไทยของเราพร้อมจะแนะนำ และส่งวีดีโอวิธีทำ เพื่อจะได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณ


จะให้อาการหายดี ต้องใช้น้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์เท่านั้น เพราะมีสารสมุนไพรช่วยคลายกล้ามเนื้อ สูตรดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น หัวไพล-ฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ความร้อนสูงเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เถาว์เอ็นอ่อน-คลายเส้นเอ็นคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ-ลดปวดลดอักเสบ น้ำมันปาล์ม-เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง เกล็ดสะระแหน่-ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและลดอาการเกร็งตัว และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันยูคา, พิมเสน, การบูร, โดยทั้งหมดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณจะกลับมามีชีวิตชีวา แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อีกครั้ง

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  และ  Cookies Policy