Spenius Capitis And Spenius Cervicis ปวดกลางกระหม่อม ปวดหลังกระบอกตา และตาพร่ามัว

124 จำนวนผู้เข้าชม  | 


บทความแสดงจุดปมทริกเกอร์พอยท์และปัญหาอาการต่างๆ ของกล้ามเนื้อ Splenius Capitis และ Splenius Cervicis พร้อมทั้งแสดงจุดทาถูหัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ เพื่อรักษาอาการ


Splenius Capitis และ Splenius Cervicis เป็นกล้ามเนื้อคอด้านหลัง ทำหน้าที่เงยหน้าและหมุนคอซ้ายขวา โดยอาการปวดจะมีลักษณะปวดร้าวลึกภายในศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณหลังกระบอกตาและอาจทำให้มีอาการตาพร่าร่วมด้วย

โดยมักมีจุดปมทริกเกอร์พอยท์ที่สร้างปัญหาให้กับกล้ามเนื้อ Splenius Capitis และ Splenius Cervicis และเป็นจุดที่ใช้ในการรักษากดจุดทาถูน้ำมัน ประกอบไปด้วย 3 จุด ดังภาพต่อไปนี้

จุดที่ 1 เกิดกับกล้ามเนื้อ Splenius Capitis หากมีอาการปวดบริเวณกลางกระหม่อม ร่วมกับตาพร่า ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ

จุดที่ 2-3 เกิดกับกล้ามเนื้อ Splenius Cervicis หากมีอาการปวดบริเวณท้ายทอยกระจายเป็นแนวยาวถึงด้านหน้าและจะเด่นชัดบริเวณหลังกระบอกตา ร่วมกับบางครั้งจะมีปวดคอร่วมด้วย ให้ใช้หัวลูกกลิ้งน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ กดทาถูรอบๆ ตามจุด X ดังภาพด้านล่าง เป็นประจำ



สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อ Splenius Capitis และ Splenius Cervicis มีปัญหา และวิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ท่าทางที่ไม่ดี ที่พบบ่อยคือการใช้งานคอและศีรษะที่ไม่เหมาะสม อันได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบยื่นคอไปด้านหน้า หรือการก้มหน้าอ่านหนังสือและดูมือถือเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งการก้มๆ เงยๆ ซ้ำๆ มากๆ ในกีฬาหรือกิจกรรมบางชนิด

ความเครียดทางอารมณ์และความวิตกกังวล มักจะกระตุ้นให้เราเกร็งกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อบ่าโดยอัตโนมัติ รวมถึงกล้ามเนื้อ Splenius Capitis และ Splenius Cervicis เพื่อเตรียมตัวสู้หรือหนี อันเป็นผลมาจากสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้นหากเราเครียดและกังวลทั้งวัน ก็จะทำให้ Splenius Capitis และ Splenius Cervicis ตึงตัวได้

ดังนั้น หากมีอาการปวดหรือตึงเป็นปมกล้ามเนื้อ Splenius Capitis และ Splenius Cervicis (ปวดบริเวณท้ายทอยกระจายเป็นแนวยาวถึงด้านหน้าและจะเด่นชัดบริเวณหลังกระบอกตา และปวดบริเวณกลางกระหม่อม ร่วมกับตาพร่า) ควรปฏิบัติดังนี้
1.จัดท่าทางให้ดี ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมลักษณะเสี่ยงทั้งหมดที่ทำให้เราคอยื่น ก้มหน้า และก้มๆ เงยๆ พร้อมทั้งต้องปล่อยวาง อย่าเครียดเป็นประจำ
2.หมั่นทาน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ พร้อมทั้งใช้หัวลูกกลิ้งกดคลึงตามจุดรูปภาพด้านบนเป็นประจำทุกวันเช้าเย็น

และหากไม่แน่ใจว่าน้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์ ควรทาตรงไหน วิธีทาทำอย่างไรเพื่อแก้อาการที่คุณเป็น?
สามารถสอบถามออนไลน์โดยตรงได้ที่ Line@ : @phrairelax หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ เรามีแพทย์แผนไทยพร้อมให้คำปรึกษา เพียงแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของอาการ เช่น บริเวณที่คุณบาดเจ็บตึง ลักษณะอาการ สาเหตุหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น แพทย์แผนไทยของเราพร้อมจะแนะนำ และส่งวีดีโอวิธีทำ เพื่อจะได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณ


จะให้อาการหายดี ต้องใช้น้ำมันนวดเส้นสมุนไพร ไพรรีแล็กซ์เท่านั้น เพราะมีสารสมุนไพรช่วยคลายกล้ามเนื้อ สูตรดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น หัวไพล-ฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ความร้อนสูงเพิ่มการไหลเวียนโลหิต เถาเอ็นอ่อน-คลายเส้นเอ็นคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันระกำ-ลดปวดลดอักเสบ น้ำมันปาล์ม-เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง เกล็ดสะระแหน่-ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและลดอาการเกร็งตัว และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันยูคาลิปตัส, พิมเสน, การบูร โดยทั้งหมดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณกลับมามีชีวิตชีวา แข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อีกครั้ง

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  และ  Cookies Policy